ช่วงใกล้ๆ สิ้นปีหรือช่วงปลายฝนต้นหนาว หลายๆ คนกำลังเตรียมตัวไปท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาว
และสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในฤดูแห่งสายลมหนาวและทะเลหมอกเช่นนี้คงหนี้ไม่พ้นแหล่งท่องเที่ยวแนวป่าเขาลำเนาไพร่แน่นอน
ดังนั้นการขับรถขึ้นๆ ลงๆ เส้นทางที่เป็นเนินเขาลาดชันจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้การขับรถขึ้นเขา ลงเขาจะเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม ตื่นเต้นสนุกสนานเร้าใจ แต่หากขับขี่ด้วยความประมาทคึกคนองหรือขาดทักษะแล้วอาจทำให้เกิดความสึกหรอ เสียหายต่อรถยนต์และอุบัติเหตุร้ายแรงได้ เพื่อให้ทริปนี้จบลงด้วยความประทับใจและปลอดภัยไปตลอดเส้นทาง วันนี้เรารวบรวมเทคนิคและข้อเตือนใจในการขับรถขึ้นลงทางลาดสูงชันมาฝาก
ตัวอย่างคลิปที่รถเก๋งขบตกเขาที่ทับเบิก ..คาดว่าเบรคแตก/เบรคไม่อยู่
เส้นทางขึ้นเขา
รถเกียร์ธรรมดาใช้เกียร์ต่ำ คนขับรถทุกคนคงทราบดีว่าการเข้าเกียร์ต่ำจะช่วยเพิ่มแรงบิด ช่วยให้รถมีแรงปีนป่ายขึ้นทางลาดชันได้ ดังนั้นในขณะขับขึ้นเขาถ้ารู้สึกว่ารอบเครื่องขึ้นสูงแต่เหมือนรถเริ่มจะหมดแรง ให้เปลี่ยนเกียร์ลงมา เริ่มต้นจากทีละ 1 เกียร์ก่อน ถ้ายังไม่ไหวก็ลงมาอีกจนกว่ารถจะมีแรงส่งที่เพียงพอ คอยสังเกตุรอบเครื่องยนต์ให้สัมพันธ์กับเกียร์ด้วยเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อระบบเกียร์ของรถยนต์
รถเกียร์อัตโนมัติใช้เกียร์
สำหรับรถเกียร์ออโต้ โดยปกติแล้วการขับขึ้นเขาที่ไม่ชันมาก การใส่เกียร์ D คาไว้ก็ถือว่าเพียงพอ เพราะเครื่องยนต์จะทดเกียร์ลงมาเองโดยอัตโนมัติเพื่อเรียกกำลังฉุด แต่ถ้ารู้สึกว่ารถเริ่มตื้อ ไม่มีแรงและรอบเครื่องสูงปรู๊ด
แสดงว่าความอัจฉริยะของเกียร์ออโต้ช่วยเราไม่ได้แล้ว ต้องดึงคันเกียร์ลงมาช่วยเช่น D3 หรือ 2 เอาให้พอที่รถจะมีแรง และเปลี่ยนกลับไปที่ D บ้างเมื่อเข้าสู่ทางราบปกติ
เส้นทางลงเขา
รถเกียร์ธรรมดาใช้เกียร์ต่ำ รถเกียร์อัตโนมัติก็ต้องใช้เกียร์ต่ำแต่ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อต้องการแรงบิดในการปีนป่าย แต่เป็นการอาศัยแรงฉุดจากเครื่องยนต์ ที่เรียกอย่างคุ้นหูว่า เอนจิ้นเบรก (Engine Brake) เพื่อเหนี่ยวรั้งไม่ให้รถวิ่งลงเขาด้วยความเร็วที่ เกินความจำเป็น หรือ เกินการควบคุม แทนการเหยียบเบรก เพราะการเหยียบเบรกต่อเนื่องนานๆ หรือการกดเท้าที่แป้นเบรกเบาๆ ตลอดเวลาที่เรียกว่า เลียเบรก ทำให้เกิดความร้อนสะสมจนทำให้ผ้าเบรกไหม้ จานเบรกร้อนและส่งผ่านความร้อนไปสู่น้ำมันเบรก จนคุณสมบัติของระบบเบรกลดลงจนถึงขั้นเบรกไม่อยู่หรือเบรกลื่น จนนำไปสู่อันตรายร้ายแรงในที่สุด
การขับรถที่ถูกต้องในระหว่างทางลงเขาลาดชันจึงต้องใช้อาศัยแรงต้านจากเครื่องยนต์เข้ามาช่วยโดยการใช้เกียร์ต่ำ รถเกียร์ธรรมอาจใช้เกียร์ หรือเกียร์ 2รถเกียร์อัตโนมัติอาจใช้เกียร์ D2 หรือ L โดยขึ้นอยู่กับความลาดชันเป็นหลัก
และเพื่อเป็นการถนอมชุดเกียร์จากการสึกหรอเพราะการลากรอบสูงตลอดเวลาที่ใช้เอนจิ้นเบรก
วิดีโออธิบาย การใช้ Engine Break
ให้สังเกตุว่าเมื่อใดก็ตามที่รอบเครื่องยนต์ขึ้นสูงจนเกินขีดจำกัดของเกียร์ในตำแหน่งนั้นๆ (ความเร็วสูงสุดในแต่ละเกียร์หาข้อมูลได้ในคู่มือรถยนต์นั้นๆ) ให้เหยียบเบรคช่วยได้เป็นระยะๆ (ใช้วิธีกดเบรกให้ลึก ห้ามกระแทกเบรก ห้ามเลียเบรก) ทำเช่นนี้เป็นระยะให้ทั้งระบบเบรกปกติและเอนจิ้นเบรกสลับกันทำงาน แต่ถ้าในกรณีที่เป็นเส้นทางลงเขาที่ยาวมากๆ การทำเช่นนี้อาจไม่พอ ดังนั้นการหาที่จอดรถที่ปลอดภัยเพื่อหยุดพักซักเล็กน้อยก็เป็นอีกทางเลือกที่ควรพิจารณา สุดท้ายเมื่อรถกลับมาอยู่ในเส้นทางราบเรียบจึงสลับมาใช้เกียร์ในตำแหน่งขับขี่ปกติต่อไป
ข้อเตือนใจในการขับรถขึ้นลงเขา
- ห้าม ใช้เกียร์ว่าง (เกียร์ N)ขณะขับลงเขาเด็ดขาด เพราะรถจะวิ่งลงเขาด้วยความเร็วสูง จนไม่สามารถควบคุมได้
- ห้ามเปลี่ยนเกียร์กะทันหันขณะอยู่ในโค้งโดยเฉพาะบนถนนที่เปียกลื่นหรือมีฝุ่นทรายหรือเป็นทางลูกรังเพราะรถจะเสียการทรงตัว
- ให้ใช้ความเร็วต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ จำไว้เสมอว่าการขับช้าๆ ทำให้มีเวลาแก้ไขสถานะการณ์ในภาวะฉุกเฉินได้มากกว่าที่ความเร็วสูงๆ
- ค่อยๆ หมุนพวงมาลัยเลี้ยวเข้าโค้งให้สัมพันธ์กับความเร็วรถและแนวโค้ง
- การลงเขาช่วงที่เป็นทางโค้งหากมีคนนั่งข้างๆ ให้ช่วยเป็นคนดูเส้นทางว่าไม่มีรถขับสวนกินเลน
- ทางโค้งที่เป็นรูปตัว S เมื่อแน่ใจว่าไม่มีรถขับสวนขึ้นมา(ต้องมั่นใจ 100%) ให้ใช้วิธีขับตัดโค้ง พยายามให้รถวิ่งเป็นเส้นตรงที่สุด วิธี่นี้ช่วยให้รถทรงตัวได้ดี ไม่เอนไปมาตามโค้ง
- ในเส้นทางที่เป็นทางโค้งมุมแคบ เช่นมีแนวต้นไม้หรือสันเขาบดบังจนไม่สามารถมองเห็นเลนข้างหน้า ให้ชะลอความเร็วล่วงหน้า บีบแตรส่งสัญญานเตือนรถที่อาจจะแล่นส่วนกินเลนมาให้ระมัดระวัง
- ทางลงเขาอย่าเลียเบรก ให้ใช้การกดเบรกให้ลึก (แต่ไม่กระแทกเบรก) เป็นระยะเพียงเพื่อช่วยผ่อนภาระการทำงานของเอนจิ้นเบรกเท่านั้น
- ทางลงเขายาวมากๆ ถ้ารถเริ่มมีอาการเบรคลื่นหรือมีกลิ่นเหม็นไหม้ของผ้าเบรกให้หาพื้นที่ปลอดภัย เช่น ไม่กีดขวางรถคันอื่น, ไม่อยู่ในมุมเลี้ยวที่รถอื่นอาจขับสวนเลยเลนเข้ามาได้, ไม่เป็นที่ลาดชันจนเกินไป ฯลฯ เพื่อหยุดพักรถจนความร้อนลดลง แล้วค่อยไปต่อ
- ทั้งทางขึ้นและลงเขาอย่าขับรถชิดคันหน้ามากเกินไป ถ้ามีรถขับจ่อท้ายให้ขับชิดซ้ายและเปิดไฟสัญญานให้แซงนำไปก่อน โดยเฉพาะถ้ารถที่จ่อท้ายในทางลงเขาเป็นรถบรรทุก รถทัวร์ขนาดใหญ่ควรปล่อยให้แซงไปก่อน เพราะรถพวกนี้จะใช้ระยะทางในการเบรกมากกว่ารถยนต์ทั่วไปจึงควรทิ้งระยะห่างให้มากๆ เข้าไว้ดีที่สุด